รายงานสถานการณ์
1. ข้อเสนอที่ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แถลงข่าวเปิดมูลนิธิมวลมหาประชาชน สนับสนุนให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีปฏิรูปให้เสร็จก่อนเลือกตั้ง ถือเป็นทางเลือกทางที่พล.อ.ประยุทธ์สามารถเลือกว่าจะอยู่ต่อ หรือไม่อยู่ต่อไป
2. แต่เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำว่าทุกอย่างต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557ทุกอย่างก็คมชัดในคำตอบที่ระบุว่า ทุกอย่างต้องเดินตามโรดแมป มีหมุดหมายคือการเลือกตั้ง หรือแม้จะเกิดอุปสรรคก็ให้กลับไปดูวิธีปฏิบัติจากรัฐธรรมนูญ
3. รัฐธรรมนูญกำหนดให้คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญนำร่างรัฐธรรมนูญเสนอให้สมาชิกสภาปฏิรูปพิจารณาสปช.มีหน้าที่โหวตรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งขณะนี้ได้กำหนดวันลงมติแล้ว คือวันที่ 7 กันยายนหาก สปช.โหวตผ่านก็ให้เข้าสู่กระบวนการทำประชามติ
4. ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. ในฐานะผู้มีหน้าที่จัดทำประชามติ ได้ลองคำนวณคร่าวๆ แล้วว่า วันลงประชามติอาจจะเป็นวันที่ 10 มกราคม 2559หากร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติจะเข้าสู่การร่างกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อนำไปสู่การเลือกตั้ง คาดว่าปี 2559 การเลือกตั้งจะเกิดขึ้นได้ และปี 2560 จะมีรัฐบาลเลือกตั้ง
5. แต่ถ้า สปช. คว่ำร่างรัฐธรรมนูญ หรือประชามติแล้วไม่ผ่าน ทุกอย่างก็ต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ระบุว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านการพิจารณาหรือไม่ มิอาจทราบ แต่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านการพิจารณาเมื่อใดยังต้องใช้เวลาอีก 9 เดือนถึงจะเลือกตั้งได้ แล้วรัฐบาลใหม่ก็จะมีขึ้นหลังจากนั้นนี่คือการยึดตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวกำหนดและหากวันใดมีรัฐบาลชุดใหม่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ก็จะหมดภาระพล.อ.ประยุทธ์ก็จะลงจากหลังเสือไปได้
6. พล.อ.ประยุทธ์ยึดอำนาจมาตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 จากนั้นใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 บริหารประเทศ มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเลือก พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนสิงหาคม 2557 และมีรัฐบาลเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2557วันที่ 31 สิงหาคมที่จะถึงนี้ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์จะครบ 1 ปี
7. เวลาที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ย่อมทราบว่า การบริหารรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งในโลกประชาธิปไตยนั้น ลำบากสาหัสหลังจากยึดอำนาจ ทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และอื่นๆ ต่างออกแถลงการณ์ประณาม ต่อมา กลุ่มประเทศเดียวกันเริ่มออกมาตรการกับไทยทั้งที่มีสาเหตุจากการรัฐประหาร และที่ไม่ยอมระบุว่ามีสาเหตุจากการรัฐประหารทั้งการลดความร่วมมือด้านต่างๆ ทั้งการให้ใบแดงด้านการบริหารงาน การประเมินผลการบริหารการบิน ที่ไอเคโอ ปักธงเตือนภัยไปทั่วโลก การประเมินผลการทำประมง รวมไปถึงการประกาศให้ไทยเป็นประเทศในกลุ่มเทียร์ 3 คือ มีการค้ามนุษย์และไม่ยอมปรับปรุงแก้ ล้วนน่าสงสัยว่าจะมีเหตุจูงใจมาจากการรัฐประหารนี่แหละ
8. แสดงว่าโลกประชาธิปไตยไม่ยอมอยู่นิ่งมาตั้งแต่ไทยมีการรัฐประหาร ยิ่งเมื่อแรกไทยมีอาการเอนไปฝั่งจีนโดยหวังจะช่วยกอบกู้ภาวะเศรษฐกิจที่ถูกกดดันยิ่งทำให้สหรัฐอเมริกาเกิดความระแวง เกรงว่าไทยจะยึดแนวทางการบริหารประเทศแบบจีนและเวียดนาม เกรงว่าไทยจะยึดอำนาจการเมือง แต่เปิดเสรีทางการค้า ซึ่งหากปล่อยให้เป็นเช่นนั้น โอกาสที่สหรัฐอเมริกาจะเสียไทยไปให้จีนก็มีสูง ดังนั้น สหรัฐอเมริกาและโลกประชาธิปไตยจึงไม่ยอมการแต่งตั้งทูตสหรัฐคนใหม่ คือ นายเกล็น เดวีส์ ซึ่งมีประสบการณ์การทำงานกับเกาหลีเหนือ และการประกาศแนวทางประชาธิปไตยของทูตคนใหม่ก็ชัดเจนการแสดงตนแสดงตัวของโลกเสรี และการเร่งให้ไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยก็ชัดแจ้ง
9. ขณะเดียวกัน เมื่อ พล.อ.ประยุทธ์บริหารประเทศมาได้ 1 ปี รอยร้าวภายในแกนอำนาจฝ่ายบริหารก็เกิดขึ้นการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการแต่ละหน่วยจะเป็นภาพสะท้อนให้แลเห็นอย่างน้อยก็เริ่มสะท้อนออกมาจากกระแสข่าวแต่งตั้งโยกย้ายผบ.ทบ.การแต่งตั้งโยกย้าย ผบ.ตร. และยังรวมไปถึงการวางตัวปลัดกระทรวงสาธารณสุขแทน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ รอยร้าวเหล่านี้ ส่งสัญญาณเตือน พล.อ.ประยุทธ์ว่า หากยืดเยื้อยาวนาน โอกาสรอยร้าวที่ปรากฏมีสิทธิจะปริแตกมากขึ้นๆปริแตกต่อไปจนยากจะเยียวยา
10. ส่วนผลการบริหารประเทศที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าถูกวิพากษ์วิจารณ์จนพล.อ.ประยุทธ์เองถึงกับเอ่ยปากตัดพ้อทำงานเหนื่อย ทำงานหนัก แต่ก็ยังถูกต่อว่าและในบรรดาผลงานที่กระเตื้องไม่ขึ้น ยังหนีไม่พ้นปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำล่าสุด กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขยอมรับว่า การส่งออกของไทยปีนี้ติดลบ 3 ขณะที่สภาการส่งออกทางเรือ รวมไปถึงนักวิชาการ และนักธุรกิจอื่นๆ ประเมินแล้วส่งออกน่าจะติดลบมากกว่านี้
11. ขณะที่อัตราเงินเฟ้อเป็นลบติดต่อกันหลายเดือน ดัชนีความเชื่อมั่นก็ไม่สู้ดี การเบิกใช้งบประมาณภาครัฐก็มีปัญหารวมๆ แล้วเศรษฐกิจโดยรวมปี 2558 ไม่สามารถเติบโตได้ดังคาด จนต้องลุ้นกันว่าที่สุดแล้วจีดีพีในปี 2558 จะแตะเลข 3 เปอร์เซ็นต์ได้หรือ?
ดังนั้น การตัดสินใจยึดตามโรดแมปเพื่อนำประเทศไปสู่การเลือกตั้ง จึงเป็นการตัดสินใจที่น่าจะส่งผลดีมากกว่าผลเสียเพราะเมื่อมีการเลือกตั้ง แรงบีบที่ต่างชาติกระทำต่อไทยจะค่อยๆ ลดลง ตามดีกรีประชาธิปไตยที่เพิ่มขึ้น ถ้าประชาธิปไตยมากก็ลดมาก ถ้าประชาธิปไตยแค่รูปแบบก็ลดน้อยเช่นเดียวกับการให้ความช่วยเหลือ ถ้าเป็นประชาธิปไตยมาก...ช่วยมาก ถ้าเป็นประชาธิปไตยน้อย..ช่วยน้อย
12. ส่วน พล.อ.ประยุทธ์นั้น หากรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประกาศใช้ มีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งพล.อ.ประยุทธ์ก็จะพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. ไปโดยปริยายเท่ากับว่า หากแนวทางเป็นไปดั่งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ก็จะก้าวลงจากหลังเสือได้อย่างสง่างาม แต่อย่างไรก็ตามทุกสิ่งล้วนแปรผันได้ตลอดเวลา เหตุจากปัจจัยการเปลี่ยนผ่านยุคสมัย
13. สรุปณวันนี้.รัฐบาล คสช.กำลังอยู่ในช่วงขาลง จากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง โดยไม่มีปัญญาจัดการแก้ไขได้เลย เนื่องจากฝีมือไม่ถึง หน่วยงานภาคธุรกิจและแม้แต่ภาครัฐ ต่างยอมรับแล้วว่า อาการหนัก มีแต่ทรุดลง การลงทุนใหม่ ไม่เกิด การส่งออกเดี้ยงไปนานแล้ว ไร้สัญญาณทางบวก เศรษฐกิจจะซึมยาว คนตกงานจะตามมา ขณะที่นักศึกษาจบใหม่จะหางานยาก
14. ขณะที่รัฐบาลซึ่งหากินกับการท่องคาถา อย่าให้สังคมทะเลาะขัดแย้งกัน เริ่มจะขายไม่ออกแล้ว ทุกวันศุกร์ชาวบ้านจะพากันประหยัดไฟ เพราะเขาไม่ฟังแล้ว เขาเบื่อการแก้ไขปัญหาประเทศเพียงลมปาก ไม่มีประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น
15. ทางออกที่จะผ่อนคลายลงในเชิงจิตวิทยาคือการปรับครม.ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณเดือนกันยายน พร้อมกับการแต่งตั้งสภาขับเคลื่อนปฎิรูปประเทศ ในขณะที่รัฐธรรมนูญจะเห็นทิศทางกับดักที่ชัดเจนยิ่งขึ้นดังนั้นการวางเกมของ คสช.จึงค่อนข้างยืดหยุ่นสูง พร้อมจะยืดโรดแมป มีข้ออ้าง ได้ตลอดเวลา ขณะที่ศาล ยังคงเป็นเครื่องมือในการประหัตประหารผู้ที่เห็นต่าง สามารถทอนพลังฝ่ายประชาธิปไตยได้เป็นอย่างดี
16. แม้นว่าจะมีรัฐธรรมนูญ มีการเลือกตั้ง มีรัฐบาลใหม่ แต่อำนาจ คสช.ยังคงมีอยู่ รัฐบาลจะไม่สามารถบริหารงานได้อย่างราบรื่น เพราะการออกแบบรัฐธรรมนูญ ให้พลังฝ่ายอนุรักษ์นิยม คอยถือดุลอำนาจตัวจริงนั่นเอง
17. สรุปสุดท้ายต้องวางแผนสู้กันในระยะยาว หาจังหวะโอกาส เงื้อนไขที่เหมาะสม เช่น ในโอกาสการขับเคลื่อนรัฐธรรมนูญช่วงนี้จะเป็นเงื่อนไขอันดีที่จะได้เคลื่อนไหว ,รวมพลัง,การต่อสู้ กันอีกรอบ และจะสู้กันไป.....จนกว่าการเปลี่ยนผ่านแห่งยุคสมัยจะเกิดขึ้น
---------------------------------------------------------