เดชตือโป๊ยก่าย
Tue, 2015-12-29 19:18
สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี
ความเชื่อเรื่องการยุยงปลุกปั่นชาวพม่าให้ก่อการประท้วงคำพิพากษาศาลไทยในหมู่เจ้าหน้าที่ระดับสูงและฝ่ายความมั่นคงของไทย ก่อให้เกิดความสงสัยและข้อสังเกตุหลายประการเกี่ยวกับปัญหาความสัมพันธ์ไทย-พม่าในยุคปัจจุบันดังนี้
1 งานข่าวกรองของไทยน่าจะมีปัญหาและไร้ประสิทธิภาพอย่างมาก ที่สามารถสรุปได้ว่าการประท้วงที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วประเทศในพม่าและรวมถึงการประท้วงของพระสงฆ์พม่าในศรีลังกานั้นมีคนไทยบางกลุ่มที่ไม่ชอบรัฐบาลและต้องการดิสเครดิส คชส.อยู่เบื้องหลัง ถ้าคนยุยงมีความสามารถขนาดนั้น เชิญเขามาเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยเถอะ ด้วยความสามารถขนาดนั้นประเทศไทยคงพัฒนามากกว่านี้แน่
2 ความเห็นเช่นว่านั้นเป็นการดูแคลนประชาชนชาวพม่าและผู้นำพม่าที่ต้องการเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับแรงงานพม่าทั้งสองที่ถูกตัดสินประหารชีวิตอย่างยิ่ง เพราะประชาชนชาวพม่าโดยทั่วไปรวมถึงผู้นำของพม่าอย่างพลเอกอาวุโสมินอ่องลาย ผู้บัญชาการทหารสูงสุดพม่า ไม่น่าจะยอมเชื่อฟังความเห็นของคนไทยคนใดที่มายุยงปลุกปั่นเขาได้ง่ายๆถ้าหากว่า พวกเขารู้สึกได้ถึงความเป็นธรรมที่เขาได้รับ
3 ปฏิกิริยาของผู้นำไทยในทำนองว่ามีผู้ยุยงปลุกปั่นกระประท้วงเช่นนี้ ไม่เป็นผลดีต่อความสัมพันธ์ไทย-พม่าในระยะยาว เพราะเท่ากับเป็นการลดทอนความสำคัญของปัญหาลงเหลือแค่เรื่องทำนองว่ามีผู้ไม่ประสงค์ดีต่อรัฐบาลไทยเท่านั้น สิ่งที่เป็นพื้นฐานสำคัญคือระบบยุติธรรมจะถูกมองข้ามไป
4 จดหมายจากพลเอกมินอ่องลาย จดหมายจากราชนัดดาของพระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าและกระแสเรียกร้องให้อองซานซูจีออกมาแสดงท่าทีเรื่องนี้ สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญของสังคมการเมืองพม่า เฉพาะอย่างยิ่งหลังการเลือกตั้งที่ประชาชนในพม่าตื่นตัวอย่างมากและคาดหวังว่าผู้นำทางการเมืองของพวกเขาจะสนใจความเป็นอยู่ของประชาชนธรรมดาสามัญมากขึ้น
5 ความสัมพันธ์ระหว่างสองชาติในอนาคตไม่ใช่ความสัมพันธ์แบบ ทหารต่อทหาร ที่จะอาศัยความเกรงอกเกรงใจ และสายสัมพันธ์ส่วนตัวมาเกี๊ยเซียะกันได้ง่ายๆอีกต่อไป ประชาชนชาวพม่าจะไม่ยอมให้มันเกิดเช่นนั้นอีก
6 ผู้นำไทยที่มีพื้นฐานมาจากทหาร มองปัญหาอย่างคับแคบและมองเห็นประชาชนเป็นศัตรูตลอดเวลาจะบดบังความพยายามในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีแบบใหม่ระหว่างไทยและพม่าไปจนหมดสิ้น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยุคใหม่นั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของระบบการเมืองที่เปิดกว้างและระบบการเมืองรวมตลอดถึงโครงสร้างการเมืองที่ดีซึ่งรับผิดชอบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนทุกหมู่เหล่าด้วย
7 ขั้นตอนทางกฎหมายของไทยนั้นมีทางเลือกอีกมากมายที่จะอำนวยความยุติธรรมและดำเนินกระบวนการได้อย่างโปร่งใส เจ้าหน้าที่ชอบที่จะยืนยันความถูกต้องในพยานหลักฐานของตน แต่ก็ไม่ควรปิดกั้นที่จะรับฟังข้อโต้งแย้งและยอมรับในช่องว่างหรือเหตุแห่งความสงสัยบางประการในคดีอันเป็นประโยชน์ต่อจำเลยด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อการอุทธรณ์ในชั้นศาลสูงและสามารถนำมาเป็นประเด็นในการดำเนินความสัมพันธ์ทางการทูตได้
ที่เขียนมาทั้งหมดนี้ก็หวังว่าเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศและนักการทูตของไทยอันเป็นที่รักของข้าพเจ้าทุกคน จะเข้าใจประเด็นนี้และมีสติปัญญาพอจะใช้มันให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินนโยบายบ้าง
ท่าทีประเภท เจ้านายว่าขี้ข้าพลอยนี่เลิกเถอะครับ ประเทศชาติเสียหาย
+++++++++
คลิปนี้ ผมฟัง หลายรอบ และไม่น่าเชื่อเลยว่า ยังมีนักข่าวที่กล้าที่จะพูดความจริงให้สังคมได้รับรู้ แม้จะไม่เต็มร้อย ในการแสดงออก แต่ก็เป็นคลิปที่ดี ครับ
2 ม.ค. 2016 นายสุภลักษณ์ กาญจนขุนดี บรรณาธิการอาวุโสด้านต่างประเทศ หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น ให้สัมภาษณ์ Thaivoicemedia เกี่ยวกับผลงานรัฐบาล คสช.ในช่วงปีกว่าที่ผ่านมาว่า ไม่สามารถประเมินได้เพราะเหมือนการไม่ส่งข้อสอบ และเห็นว่าตลอดปีกว่าที่ผ่านมารัฐบาล คสช.ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายใด ๆ ได้เลยจากเหตุผลของการทำรัฐประหาร แต่กลับไปเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่อง แทนที่จะเร่งปรับปรุงฟื้นฟู เรื่องพื้นฐานเช่นกระบวนการยุติธรรมที่จะให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
https://www.youtube.com/watch?v=B7k8-v94S_A
-
*****
#เสรีชน
47FD4D99-97B0-4D4D-AD6F-B4207B51CF13