ภูมิพล เป็นคนยิง ร. 8
ภูมิพล เป็นคนยิง ร. 8
Andrew MacGregor Marshall |
ของ Andrew MacGregor Marshall ผู้เขียน Thailand : A Kingdom in Crisis
ช่วงเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน 2489
ในหลวงอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ของประเทศสยามที่มีพระชนมายุ 21 พรรษา ได้ถูกยิงที่ศีรษะและเสด็จสวรรคตอยู่ในห้องบรรทมของพระองค์ในพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพฯ ตอนเย็นของวันนั้น เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดชซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์พระชนมายุ 19 พรรษา ได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 9 ได้ครองราชสมบัติตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ขณะนี้พระองค์ทรงชราภาพและเจ็บป่วยบ่อยครั้ง ทรงเก็บพระองค์เองอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช แต่พระองค์ก็ยังคงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยต่อไปอย่างไม่มีกำหนด
ในหลวงอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ของประเทศสยามที่มีพระชนมายุ 21 พรรษา ได้ถูกยิงที่ศีรษะและเสด็จสวรรคตอยู่ในห้องบรรทมของพระองค์ในพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพฯ ตอนเย็นของวันนั้น เจ้าฟ้าชายภูมิพลอดุลยเดชซึ่งเป็นพระอนุชาของพระองค์พระชนมายุ 19 พรรษา ได้รับการสถาปนาให้เป็นกษัตริย์รัชกาลที่ 9 ได้ครองราชสมบัติตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ขณะนี้พระองค์ทรงชราภาพและเจ็บป่วยบ่อยครั้ง ทรงเก็บพระองค์เองอยู่ในโรงพยาบาลศิริราช แต่พระองค์ก็ยังคงดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยต่อไปอย่างไม่มีกำหนด
โดยทางการแล้ว คดีฆาตกรรมเรื่องนี้ได้ถูกพรรณาไว้ว่าเป็นเรื่องลึกลับ เป็นปริศนาทางอาชญากรรมที่ผิดวิสัยที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก ซึ่งไม่สามารถเฉลยข้อเท็จจริงออกมาได้ในศตวรรษที่ผ่านมา แต่ในความจริงแล้ว มันชัดเจนมาเป็นเวลานานแล้วว่าใครเป็นผู้ปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 ความจริงได้ถูกปกปิดโดยระบอบเครือข่ายนิยมกษัตริย์ของประเทศไทย ซึ่งส่วนหนึ่งจากการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอันแสนเข้มงวด นั่นคือ กฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งได้ถูกนำมาใช้เพื่อจัดการบุคคลต่างๆให้กลายเป็นอาชญากร เมื่อมีการสนทนาพูดคุยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมืองของประเทศไทยอย่างเปิดเผยและโดยสุจริตใจ
หลังจากที่ในหลวงอานันท์ได้เสด็จสวรรคตไปเพียงไม่กี่นาที สถานที่เกิดเหตุได้ถูกจัดเปลี่ยนอย่างจงใจเพื่อปกปิดหลักฐานต่างๆว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแท้จริงแล้วคืออะไร บุคคลที่อยู่ในพระที่นั่งบรมพิมานในตอนเช้าของวันนัั้น ไม่เคยเปิดเผยความจริงต่อหน้าสาธารณะว่าได้เกิดอะไรขึ้น และบุคคลคนเดียวในขณะนั้นที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน คือ ตัวกษัตริย์ภูมิพลนั่นเอง ดูเหมือนว่าพระองค์ไม่เคยเปิดเผยเลยว่าอะไรได้เกิดขึ้น และคงจะนำความลับนี้ลงสู่หลุมฝังศพไปพร้อมๆ กับตัวพระองค์เอง ถึงแม้ว่าจะมีการทำลายหลักฐานต่างๆ และข้อเท็จจริงตามที่บุคคลที่เกี่ยวข้องได้โกหกว่าอะไรเกิดขึ้นในกรณีสวรรคต แต่จุดสำคัญประการแรกคือ ไม่มีความเป็นไปได้ที่จะมีผู้ลอบสังหารที่ไม่มีใครรู้จัก สามารถหลบหลีกเข้าไปในพระบรมมหาราชวังในตอนเช้าของวันนั้นได้ การนำเอาปืนสั้น โคลท์ .45 อัตโนมัติออกมาจากตู้ที่อยู่ข้างเตียงนอนของพระองค์ ยิงพระองค์ตรงกลางศีรษะด้วยปืนกระบอกนั้น แล้วหลบหนีไปได้โดยที่ไม่มีใครเห็นเลย คนที่เป็นฆาตกรจะต้องเป็นใครคนใดคนหนึ่งที่อยู่พักอาศัยในพระที่นั่งบรมพิมานเท่านััน
แต่ทันทีหลังจากที่ในหลวงอานันท์สวรรคตไปแล้ว กลับมีการกระจายข่าวออกไปอย่างกว้างขวางว่า พระองค์ทรงกระทำอัตวินิบาตกรรมคือฆ่าตัวตายเอง พระชนนีศรีสังวาลย์ ได้ขอร้องกับนายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์ ให้ประกาศว่า การสวรรคตเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากตัวในหลวงอานันท์เอง นายปรีดีและรัฐบาลก็ยินยอมทำตามคำขอร้องนั้น แต่มันเป็นไปไม่ได้เลยที่ในหลวงอานันท์จะยิงพระองค์เองด้วยความผิดพลาดหรืออุบัติเหตุทำปืนลั่น ในขณะที่ปืนกระบอกนี้จี้อยู่ตรงหน้าผากของพระองค์ขณะที่นอนหงาย และจากวิถีกระสุนที่วิ่งจากหน้าผากผ่านกระโหลกศีรษะทะลุท้ายทอยของในหลวงอานันท์ ขณะฝ่ายนิยมระบอบเจ้าหลายคนที่เป็นนักการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้เริ่มการปล่อยข่าวว่า นายปรีดี พนมยงค์เป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ นำการสวรรคตมาแสวงหาผลประโยชน์เพื่อต้องการฟื้นระบอบเจ้าแบบเก่า เพื่อเปลี่ยนประเทศไทยให้คืนกลับสู่อดีต
วันที่ 13 มิถุนายน2489 อุปทูตชาร์ล ดับเบิ้ลยู โยสท์ (Charge d’affaires Charles W. Yost )ส่งโทรเลขลับไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน เล่าถึงการสนทนากับนายดิเรก ชัยนาม ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ที่เพิ่งเข้าเฝ้าฯ กษัตริย์ภูมิพลที่ได้กล่าวยืนยันกับนายดิเรกว่า ข่าวลือต่างๆ ที่ว่านายปรีดีวางแผนปลงsพระชนม์หรือนายหลวงปลงพระชนม์พระองค์เอง เป็นเรื่องที่ไร้สาระ และพระองค์มีความมั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่า การสวรรคตของในหลวงอานันท์เป็นเรื่องอุบัติเหตุ…… ขณะที่มรว.เสนีย์ ปราโมชส่งหลานและภรรยาของตนไปที่สถานทูตของสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ กล่าวหาว่า นายกรัฐมนตรีปรีดีเป็นผู้วางแผนทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์
นายปรีดีและรัฐบาลของเขาได้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพื่อทำหน้าที่ค้นหาความจริงเกี่ยวกับกรณีสวรรคต ในวันที่18 มิถุนายน 2489ประกอบด้วย ประธานศาลทั้งสามศาล พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้บัญชาการทหารสามเหล่าทัพ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา และอนุกรรมการทางการแพทย์จากหลายฝ่าย
ขณะที่ฝ่ายนิยมระบอบเจ้าได้ปล่อยข่าวว่า กษัตริย์ภูมิพลก็กำลังตกอยู่ในอันตรายด้วย และขอการสนับสนุนจากทูตสหรัฐและอังกฤษ เพื่อการทำรัฐประหารรัฐบาลของนายปรีดี โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องพระราชวงศ์ ขณะที่รายงานจากคณะแพทย์เมื่อวันที่27 มิถุนายน 2489 ลงความเห็นว่ามีคนยิงรัชกาลที่ 8
วิถีกระสุนเฉียงลงล่างซ้าย |
อุปทูตสหรัฐ Charle Woodruff Yost 2450-2524 |
ดิเรก ชัยนาม 2447-2510 |
ขณะที่ฝ่ายนิยมระบอบเจ้าได้ปล่อยข่าวว่า กษัตริย์ภูมิพลก็กำลังตกอยู่ในอันตรายด้วย และขอการสนับสนุนจากทูตสหรัฐและอังกฤษ เพื่อการทำรัฐประหารรัฐบาลของนายปรีดี โดยอ้างว่าเพื่อปกป้องพระราชวงศ์ ขณะที่รายงานจากคณะแพทย์เมื่อวันที่27 มิถุนายน 2489 ลงความเห็นว่ามีคนยิงรัชกาลที่ 8
Sir Geoffrey Stuart Thompson 2448-2526 |
ความพยายามของรัฐบาลนายปรีดี ที่พยายามชี้ว่าเป็นเรื่องอุบัติเหตุนับเป็นความผิดพลาดอย่างร้ายแรงของรัฐบาลเอง แม้ว่านายกปรีดีมีเจตนาจะรักษาศักดิ์ศรีของสถาบันกษัตริย์ ดังนั้นรัฐบาลนายปรีดีจำเป็นต้องดำเนินการสอบสวนเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงที่จะแสดงความบริสุทธิ์ใจของตน โดยไม่ต้องไปหวั่นเกรงเรื่องใดๆอีกต่อไปโดยอาจมีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ ถ้าจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนตัวกษัตริย์ เพราะได้เห็นพิรุธชัดเจนว่าฝ่ายราชวังได้รีบทำความสะอาดเพื่อลบร่องรอยพยานหลักฐานก่อนที่จะยอมให้ใครเข้าไปในห้องพระบรรทมที่เกิดเหตุ ส่วนปืนก็ได้ถูกนำมาวางไว้ข้างๆ และมีการจัดฉากสร้างกระแสให้เกิดความสะเทือนใจ และโกรธแค้น เพื่อโหมโจมตีนายกรัฐมนตรีปรีดีอย่างขนานใหญ่หลายระลอก
ส่วนกษัตริย์ภูมิพลแสดงอาการรู้สึกหดหู่อย่างเห็นได้ชัดต่อการสวรรคตของพระเชษฐา กษัตริย์ภูมิพลดูเหมือนป่วยและซึมเศร้าตลอดเวลาไม่อยากพูดจา และเสด็จไปประทับยังเมืองโลว์ซานน์พร้อมพระชนนี เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2489 เพื่อศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยโลว์ซานน์ ถึงแม้ว่าการไว้ทุกข์ยังไม่ครบ100 วัน แต่พระองค์ยังคงมีอาการซึมเศร้าเสมอ นานๆครั้งจึงจะเข้าไปเรียนในห้องเรียน และไม่เคยเรียนจบปริญญาใดๆเลย ในปลายปี 2489 พระองค์ส่งข้อความว่า จะไม่เสด็จกลับกรุงเทพเพื่อร่วมงานพระราชพิธีพระบรมศพของในหลวงอานันท์ ดูเหมือนว่าพระองค์มีพระประสงค์จะประทับอยู่ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์อีกเป็นเวลาสองถึงสามปี เพื่อที่จะได้สำเร็จการศึกษาของพระองค์ โดยไม่มีแนวโน้มเลยว่า จะสามารถไขปริศนาเบื้องหน้าเบื้องหลังให้กระจ่างแจ้งออกมาได้
มีแต่ภูมิพล ที่เป็นคนยิงรัชกาลที่ 8
ในขณะที่การสืบสวนกรณีสวรรคตได้เริ่มเข้มข้นขึ้นถึงจุดที่พุ่งเป้าไปยังกษัตริย์ภูมิพลว่าเป็นผู้ต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8 และต้องรับผิดชอบในเรื่องนี้ รัฐบาลกลัวว่าจะมีผลกระทบที่สั่นคลอนต่อเสถียรภาพในการเปิดเผยเรื่องราวนี้ออกมา และไม่ต้องการให้กษัตริย์ภูมิพลสละราชสมบัติ
จุมภฏพงษ์และมรว.พันธุ์ทิพย์ |
หลวงธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ( 2444-2531) |
Edwin F. Stanton |
ควง อภัยวงศ์ ( 2445 - 2511 ) |
มรว.เสนีย์ ปราโมช ( 2448 -2540 ) |
และพี่น้องตระกูลปราโมชคือ หม่อมราชวงศ์ เสนีย์ และ หม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ได้ร่วมกันวางแผนเตรียมการประกาศว่า กษัตริย์ภูมิพลได้ทำการปลงพระชนม์ในหลวงอานันท์ โดยพวกเขาหวังว่าจะเป็นการบังคับให้กษัตริย์ภูมิพลสละราชสมบัติเพื่อเปิดทางให้กับพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตรขึ้นเป็นกษัตริย์แทน
Kenneth Landon ( 2446- 2536) |
เฉลียว บุศย์ และชิต ในศาล |
ในท้ายที่สุด กษัตริย์ภูมิพลได้เสด็จกลับมาสู่ประเทศไทยอย่างเมื่อเดือนมีนาคม 2493 เพื่อร่วมพระราชพิธีพระบรมศพฯพระเชษฐาของพระองค์ และเข้าพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ รวมทั้งพิธีราชาภิเษกสมรสกับ มรว.หญิงสิริกิติ์ กิติยากร แล้วพระองค์ก็เสด็จออกจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 6มิถุนายน 2493 ซึ่งเป็นเวลาเพียงสองสามวัน ก่อนที่จะครบรอบการเสด็จสวรรคตของพระเชษฐา ต่อมาพระองค์จึงได้เสด็จกลับสู่ประเทศไทยเพื่อปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์เมื่อปลายปี 2494 กษัตริย์ภูมิพลทรงทราบดีว่า นายบุศย์ ปัทมศริน, นายชิต สิงหเสนี และนายเฉลียว ปทุมรส ไม่มีส่วนรู้เห็นใดๆ เกี่ยวกับการปลงพระชนม์ของพระเชษฐาของพระองค์ แต่พระองค์ก็ไม่กระทำการใดๆ เพื่อช่วยชีวิตของพวกเขา บุคคลทั้งสามได้ถูกประหารชีวิตในเดือนกุมภาพันธ์ 2498 ด้วยข้อหาอาชญากรรมที่พวกเขาไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระทำแต่อย่างใด
กษัตริย์ภูมิพลได้เปลี่ยนคำให้การของพระองค์เองหลายครั้ง ทั้งๆที่กษัตริย์ภูมิพลเคยยืนยันอย่างแข็งขันไม่กี่วันหลังจากที่พระเชษฐาสวรรคตว่ามันเป็นอุบัติเหตุ แต่พระองค์กลับยกเลิกคำให้การเหล่านั้นในการพิจารณาคดีครั้งต่อมา โดยพระองค์หันไปเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยหลายเรื่อง ที่เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือคือให้ร้ายนายเฉลียว ปทุมรส กษัตริย์ภูมิพลได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่สถานีโทรทัศน์ บีบีซี ซึ่งออกอากาศเมื่อปี 2523 โดยแก้ตัวว่า การคดีสวรรคตเป็นเรื่องที่ลึกลับซับซ้อน จากการอำพรางคดีโดยบุคคลหลายคนที่มีอำนาจมากทั้งในและต่างประเทศที่ไม่ทราบว่าเป็นใครบ้าง
William Stevenson กับภูมิพล |
Masanobu Tsuji ( 2444-2504 ) |
บันทึกของนางมากาเร็ต แลนดอน
(Margaret Landon)
Margaret และ Kenneth Landon |
โดยที่อดีตราชเลขาธิการ คือ นายเฉลียว ปทุมรส มีความสัมพันธ์เป็นชู้สาวกับนางสังวาลย์ และอยู่ในห้องบรรทมของพระนางในขณะที่ในหลวงอานันท์ถูกยิงสวรรคต โดยพระนางสังวาลย์ ซึ่งเป็นพระชนนีมาจากตระกูลสามัญชนและไม่เคยได้รับความชื่นชอบ จากกลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ส่วนใหญ่เลย
วไลยอลงกรณ์ สว่างวัฒนาและมหิดล |
เจ้าฟ้ามหิดลกับนส.สังวาลย์ |
ในตอนเช้าของวันที่ 9 มิถุนายน 2489 ในหลวงอนันท์อานันท์ยังประชวรอยู่ โดยบรรทมอยู่บนเตียงพร้อมกับหยิบปืนขึ้นมาเล่น เจ้าฟ้าชายภูมิพลเสด็จเข้ามาข้างในห้องบรรทม ในหลวงอานันท์จับปืนขึ้นจ่อมาที่พระเศียรของเจ้าฟ้าภูมิพลและกล่าวว่า “ ฉันสามารถฆ่าเธอได้ ” แต่เจ้าฟ้าภูมิพลก็แย่งปืนมาและยกปืนจ่อที่พระเศียรของในหลวงอานันท์ แล้วกล่าวว่า“ ฉันก็ฆ่าเธอได้เช่นกัน ” ในหลวงอานันท์ ร้องว่า “เหนี่ยวไกเลย เหนี่ยวไกเลย ”
พระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ภูมิพลหลังยิงพระเชษฐา |
พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ |
...................