สิ่งที่ คณะคสช และ ฝ่ายบริหาร [เถื่อน] ทำกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในขณะนี้คือ:
(๑) เพิกถอนหนังสือเดินทาง หรือ passport
(๒) สั่งให้นายทหารพระธรรมนูญ ไปร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ
ในฐานความผิดดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ประมวลกฏหมายอาญามาตรา ๑๑๒
เพื่อฟ้องในศาลทหาร
(๓) ถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณฯ ในฐานที่เป็นผู้หลบหนี หรือ หลบหนีหมายจับในคดีที่ดินรัชดาภิเษก
ทั้งสามกรณี เป็นความผิดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปีค.ศ.๑๙๔๘;
กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง
ปีค.ศ.๑๙๖๖(เป็นสนธิสัญญา) รวมทั้ง กติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปีค.ศ.๑๙๖๖ (เป็นสนธิสัญญา)
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทย มีอยู่กับนานานชาติ
และองค์การสหประชาชาติ ทั้งสามสิ่งที่ระบุมาข้างต้น คือ
"ธรรมนูญของโลกว่าด้วย กฏหมายอันมีที่มาจากสิทธิมนุษยชน หรือ International
Bill of Rights"
การจะใช้ธรรมนูญของโลกในเรื่อง
กฏหมายอันมีที่มาจากสิทธิมนุษยชน ได้อย่างถูกต้องแท้จริง
จำต้องอาศัยคำอธิบายจากบรรทัดฐานในคดี และบรรทัดฐานนี้
มีที่มาจากคดีที่พิพากษาไว้โดยศาล Supreme Court ของสหรัฐฯ
ซึ่งเป็นศาลรัฐธรรมนูญศาลแรกของโลกในยุคของรัฐใหม่ (Modern State)
คดีที่กล่าวอ้างถึงนี้คือ:
(๑) Kent v. Dulles, 357 U.S. 116 (1958)
(๒) Trop v. Dulles, 356 U.S. 86 (1958)
คดีที่กล่าวมาข้างต้นทั้งสองคดี องค์การสหประชาชาติ ยอมรับนำมาใช้อ้างอิง
และ ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย อาจค้นคว้าหาอ่านได้ผ่านเครื่องอ่านของกูเกิ้ล
โดยพิมพ์ชื่อคดี และหมายเลขต่อท้ายใส่ลงไปบนช่องสี่เหลี่ยม
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่สองนั้น เหตุผลของคดี หรือในคดี
ใช้เป็นข้อที่นำมาโต้เถียงได้ หากเหตุผลที่ผู้พิพากษาผู้ทรงคุณวุฒิ
(Learned Judge) เหล่านั้นในคดี เป็นด้านบนของเหรียญบนด้านเดียวกัน
เหตุผลที่นำมาเป็นข้อคิดคำนึง
และใช้โต้แย้งเป็นด้านล่างของเหรียญหน้าเดียวกัน เมื่อนำมาโต้เถียงแล้ว
ฝ่ายตรงข้ามจนมุม
อนึ่งสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดของ คณะ คสช.
และ ฝ่ายบริหาร [เถื่อน] ในขณะนี้ เป็นการฝ่าฝืนต่อความตามที่บัญญัติไว้ใน
(สนธิสัญญา) Convention against Corruption, 2003 ที่ประเทศไทย
ได้ลงนามและให้สัตยาบันไว้เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ปีค.ศ.๒๐๑๑ หรือ ปีพ.ศ.
๒๕๕๔ รวมทั้งฝ่าฝืนต่อ (สนธิสัญญ่า) Convention against Transnational
Organized Crime, 2000 มีผลบังคับทั่วไปในเดือน กันยายน ปีค.ศ.๒๐๐๓
ประเทศไทยไปลงนามให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาฉบับหลังนี้ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม
ปีค.ศ.๒๐๑๓ หรือปีพ.ศ.๒๕๕๖
ที่จริงแล้ว คณะ คสช. และฝ่ายบริหาร
ที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายนี้ ต้องถูกจัดการโดยสนธิสัญญา ทั้งสองฉบับ
ดังกล่าวข้างต้น เพราะความผิดตามสนธิสัญญาทั้งสองฉบับ ที่กล่าวมาข้างต้น
เป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ หรือ International Crimes
นายตำรวจคน ที่ออกมาแถลงข่าว ต้องระมัดระวังตัวเองให้ดีๆ เพราะตัวท่านเอง
ได้กระทำความผิดตามกฏหมายในฐานะ ที่เป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง (ละเว้น
เท่ากับ กระทำการ) ให้ไปอ่านคำพิพากษาของ ศาลอาญาพิเศษของ
องค์การสหประชาชาติ ในคดีที่ชื่อว่า " Dusan Tadic หรือ Dusko Tadic
ให้ขึ้นใจ
คำพิพากษาฉบับนี้ ยังได้อธิบายถึงว่า "ทำอย่างไร จึงเป็น
ผู้ร่วมขบวนการ ในการกระทำความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ" เอาไว้โดยละเอียด
นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า "อย่าเห็นความผิดผู้อื่น สูงเป็นภูเขาเลากา
แต่ความผิดของตนเอง เสมอเพียง "เส้นขน" เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.
ทั้งสามกรณี เป็นความผิดตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปีค.ศ.๑๙๔๘;
กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง
ปีค.ศ.๑๙๖๖(เป็นสนธิสัญญา) รวมทั้ง กติการะหว่างประเทศว่าด้วย
สิทธิในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ปีค.ศ.๑๙๖๖ (เป็นสนธิสัญญา)
สิ่งที่กล่าวมาข้างต้น ล้วนเป็นพันธกรณีที่ประเทศไทย มีอยู่กับนานานชาติ
และองค์การสหประชาชาติ ทั้งสามสิ่งที่ระบุมาข้างต้น คือ
"ธรรมนูญของโลกว่าด้วย กฏหมายอันมีที่มาจากสิทธิมนุษยชน หรือ International
Bill of Rights"
การจะใช้ธรรมนูญของโลกในเรื่อง
กฏหมายอันมีที่มาจากสิทธิมนุษยชน ได้อย่างถูกต้องแท้จริง
จำต้องอาศัยคำอธิบายจากบรรทัดฐานในคดี และบรรทัดฐานนี้
มีที่มาจากคดีที่พิพากษาไว้โดยศาล Supreme Court ของสหรัฐฯ
ซึ่งเป็นศาลรัฐธรรมนูญศาลแรกของโลกในยุคของรัฐใหม่ (Modern State)
คดีที่กล่าวอ้างถึงนี้คือ:
(๑) Kent v. Dulles, 357 U.S. 116 (1958)
(๒) Trop v. Dulles, 356 U.S. 86 (1958)
คดีที่กล่าวมาข้างต้นทั้งสองคดี องค์การสหประชาชาติ ยอมรับนำมาใช้อ้างอิง
และ ผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย อาจค้นคว้าหาอ่านได้ผ่านเครื่องอ่านของกูเกิ้ล
โดยพิมพ์ชื่อคดี และหมายเลขต่อท้ายใส่ลงไปบนช่องสี่เหลี่ยม
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีที่สองนั้น เหตุผลของคดี หรือในคดี
ใช้เป็นข้อที่นำมาโต้เถียงได้ หากเหตุผลที่ผู้พิพากษาผู้ทรงคุณวุฒิ
(Learned Judge) เหล่านั้นในคดี เป็นด้านบนของเหรียญบนด้านเดียวกัน
เหตุผลที่นำมาเป็นข้อคิดคำนึง
และใช้โต้แย้งเป็นด้านล่างของเหรียญหน้าเดียวกัน เมื่อนำมาโต้เถียงแล้ว
ฝ่ายตรงข้ามจนมุม
อนึ่งสิ่งที่ได้กระทำไปแล้วทั้งหมดของ คณะ คสช.
และ ฝ่ายบริหาร [เถื่อน] ในขณะนี้ เป็นการฝ่าฝืนต่อความตามที่บัญญัติไว้ใน
(สนธิสัญญา) Convention against Corruption, 2003 ที่ประเทศไทย
ได้ลงนามและให้สัตยาบันไว้เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ปีค.ศ.๒๐๑๑ หรือ ปีพ.ศ.
๒๕๕๔ รวมทั้งฝ่าฝืนต่อ (สนธิสัญญ่า) Convention against Transnational
Organized Crime, 2000 มีผลบังคับทั่วไปในเดือน กันยายน ปีค.ศ.๒๐๐๓
ประเทศไทยไปลงนามให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาฉบับหลังนี้ในวันที่ ๑๗ ตุลาคม
ปีค.ศ.๒๐๑๓ หรือปีพ.ศ.๒๕๕๖
ที่จริงแล้ว คณะ คสช. และฝ่ายบริหาร
ที่ไม่ชอบด้วยกฏหมายนี้ ต้องถูกจัดการโดยสนธิสัญญา ทั้งสองฉบับ
ดังกล่าวข้างต้น เพราะความผิดตามสนธิสัญญาทั้งสองฉบับ ที่กล่าวมาข้างต้น
เป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ หรือ International Crimes
นายตำรวจคน ที่ออกมาแถลงข่าว ต้องระมัดระวังตัวเองให้ดีๆ เพราะตัวท่านเอง
ได้กระทำความผิดตามกฏหมายในฐานะ ที่เป็นผู้กระทำความผิดเสียเอง (ละเว้น
เท่ากับ กระทำการ) ให้ไปอ่านคำพิพากษาของ ศาลอาญาพิเศษของ
องค์การสหประชาชาติ ในคดีที่ชื่อว่า " Dusan Tadic หรือ Dusko Tadic
ให้ขึ้นใจ
คำพิพากษาฉบับนี้ ยังได้อธิบายถึงว่า "ทำอย่างไร จึงเป็น
ผู้ร่วมขบวนการ ในการกระทำความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ" เอาไว้โดยละเอียด
นิทานเรื่องนี้ สอนให้รู้ว่า "อย่าเห็นความผิดผู้อื่น สูงเป็นภูเขาเลากา
แต่ความผิดของตนเอง เสมอเพียง "เส้นขน" เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.