8 เหตุผลทำไมไม่ควรรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย!!!
http://thaienews.blogspot.com/2016/03/8.html?m=1
BY BOURNE
ช่วงนี้กระแสวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธานกรรมาธิการยกร่าง(กรธ.) ถือว่ามีอยู่อย่างต่อเนื่องทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะโดยนักการเมือง นักวิชาการ นักกิจกรรม หรือแม้แต่ประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของการสืบทอดอำนาจของคณะคสช. และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ซึ่งแม้ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังต้องผ่านการปรับปรุงตามคำแนะนำของครม. สนช. และสปท. แต่เนื้อหาสาระก็ดูไม่ได้มีความเป็นประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด วันนี้ทีมงาน iSpace Thailand จึงขอนำเสนอ 8 เหตุผลที่ประชาชนไทยควรพิจารณาก่อนที่จะลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
1. ที่มาขอนายกรัฐมนตรี ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาตรา 83,153 และ 154 กำหนดให้พรรคการเมืองต้องแจ้งชื่อผู้ที่จะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ กกต. เพื่อประกาศให้ประชาชนรับทราบ แต่มิได้กำหนดให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ สมาชิกพรรคการเมือง จึงเป็นการเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีนั้นมาจากคนนอกซึ่งไม่ต้องลงสมัครรับ เลือกตั้งแต่อย่างใด
2. ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา มาตรา 102 กำหนดให้ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 200 คน มาจากการเลือกกันเองของกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะหรือประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งไม่แตกต่างจากการแต่งตั้ง เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่จะเข้าไปเลือกสมาชิกวุฒิสภาก็มาจากการสรรหาไม่ใช่การ เลือกตั้งของประชาชน ทำให้สมาชิกวุฒิสภาไม่ยึดโยงกับประชาชน และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของคณะคสช.
3. สิทธิด้านสาธารณสุข เดิมทีรัฐธรรมนูญ 2540 ในมาตรา 52 และรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 51 กำหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและ ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนั้น มาตรา 51 ได้มีการตัดสิทธิของผู้ยากไร้ในการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลของรัฐโดยไม่ เสียค่าใช้จ่ายออกไป
4. การตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐโดยองค์กรอิสระไม่มีความยึดโยงกับประชาชน เนื่องจากที่มาขององค์กรอิสระต่างๆ ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาจากการแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา แต่ที่มาของวุฒิสภาตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีที่มาจากการเลือกกันเองของ กลุ่มบุคคล ไม่ใช่จากการเลือกตั้งของประชาชน ดังนั้นกระบวนการตรวจสอบอำนาจรัฐ จากองค์กรอิสระจึงไม่มีความยึดโยงกับประชาชน
5. อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามมาตรา 205(2) ที่กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และ อำนาจของ ส.ส. ส.ว. รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรอิสระ ซึ่งทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเหนือกว่าอำนาจบริหาร และนิติบัญญัติ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ยาก เพราะมาตรา 253(3) ในขั้นตอนการออกเสียงลงคะแนนแก้ไข
7. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย อาจเปิดช่องให้มีการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร ผ่านช่องทางการคัดเลือกกลุ่มบุคคลเพื่อมาเลือกสมาชิกวุฒิสภา และองค์กรอิสระ
8. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีการนิรโทษกรรมคณะคสช. และกำหนดให้ประกาศ คำสั่ง การกระทำ รวมถึงการปฏิบัติตามประกาศ คำสั่งของคณะคสช. นั้นชอบด้วยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตามมาตรา 270
จะเห็นได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนี้ มีหลายบทบัญญัติที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ยึดโยงกับประชาชน ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเปิดช่องให้มีการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร รวมทั้งมีการนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร คำถามคือเมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ประชาชนไทยยังควรที่จะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่???
Reference
http://www.posttoday.com/politic/413073
BY BOURNE
ON MARCH 11, 2016
ช่วงนี้กระแสวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด ที่มีนายมีชัย ฤชุพันธ์ เป็นประธานกรรมาธิการยกร่าง(กรธ.) ถือว่ามีอยู่อย่างต่อเนื่องทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ ไม่ว่าจะโดยนักการเมือง นักวิชาการ นักกิจกรรม หรือแม้แต่ประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของการสืบทอดอำนาจของคณะคสช. และการมีส่วนร่วมของประชาชน
ซึ่งแม้ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวยังต้องผ่านการปรับปรุงตามคำแนะนำของครม. สนช. และสปท. แต่เนื้อหาสาระก็ดูไม่ได้มีความเป็นประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด วันนี้ทีมงาน iSpace Thailand จึงขอนำเสนอ 8 เหตุผลที่ประชาชนไทยควรพิจารณาก่อนที่จะลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
1. ที่มาขอนายกรัฐมนตรี ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มาตรา 83,153 และ 154 กำหนดให้พรรคการเมืองต้องแจ้งชื่อผู้ที่จะเสนอให้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ กกต. เพื่อประกาศให้ประชาชนรับทราบ แต่มิได้กำหนดให้ผู้ที่ถูกเสนอชื่อต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ สมาชิกพรรคการเมือง จึงเป็นการเปิดช่องให้นายกรัฐมนตรีนั้นมาจากคนนอกซึ่งไม่ต้องลงสมัครรับ เลือกตั้งแต่อย่างใด
2. ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา มาตรา 102 กำหนดให้ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาจำนวน 200 คน มาจากการเลือกกันเองของกลุ่มบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะหรือประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งไม่แตกต่างจากการแต่งตั้ง เนื่องจากกลุ่มบุคคลที่จะเข้าไปเลือกสมาชิกวุฒิสภาก็มาจากการสรรหาไม่ใช่การ เลือกตั้งของประชาชน ทำให้สมาชิกวุฒิสภาไม่ยึดโยงกับประชาชน และถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการสืบทอดอำนาจของคณะคสช.
3. สิทธิด้านสาธารณสุข เดิมทีรัฐธรรมนูญ 2540 ในมาตรา 52 และรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 51 กำหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่เหมาะสมและ ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดย ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนั้น มาตรา 51 ได้มีการตัดสิทธิของผู้ยากไร้ในการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลของรัฐโดยไม่ เสียค่าใช้จ่ายออกไป
4. การตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐโดยองค์กรอิสระไม่มีความยึดโยงกับประชาชน เนื่องจากที่มาขององค์กรอิสระต่างๆ ทั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาจากการแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา แต่ที่มาของวุฒิสภาตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีที่มาจากการเลือกกันเองของ กลุ่มบุคคล ไม่ใช่จากการเลือกตั้งของประชาชน ดังนั้นกระบวนการตรวจสอบอำนาจรัฐ จากองค์กรอิสระจึงไม่มีความยึดโยงกับประชาชน
5. อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก ตามมาตรา 205(2) ที่กำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และ อำนาจของ ส.ส. ส.ว. รัฐสภา คณะรัฐมนตรี และองค์กรอิสระ ซึ่งทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจเหนือกว่าอำนาจบริหาร และนิติบัญญัติ
การแก้ไขรัฐธรรมนูญทำได้ยาก เพราะมาตรา 253(3) ในขั้นตอนการออกเสียงลงคะแนนแก้ไข
6. รัฐธรรมนูญในขั้นรับหลักการต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด ดังนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่สามารถทำได้ หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการเลือกกันเองของกลุ่ม บุคคล
7. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย อาจเปิดช่องให้มีการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร ผ่านช่องทางการคัดเลือกกลุ่มบุคคลเพื่อมาเลือกสมาชิกวุฒิสภา และองค์กรอิสระ
8. ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีการนิรโทษกรรมคณะคสช. และกำหนดให้ประกาศ คำสั่ง การกระทำ รวมถึงการปฏิบัติตามประกาศ คำสั่งของคณะคสช. นั้นชอบด้วยร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ตามมาตรา 270
จะเห็นได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัยนี้ มีหลายบทบัญญัติที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ยึดโยงกับประชาชน ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเปิดช่องให้มีการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร รวมทั้งมีการนิรโทษกรรมคณะรัฐประหาร คำถามคือเมื่อรู้เช่นนี้แล้ว ประชาชนไทยยังควรที่จะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่???
Reference
http://www.posttoday.com/politic/413073