Friday, April 22, 2016

งานเข้ามึงแล้ว ไอ้ตูบ .... เที่ยวกล่าวหา ทักษิญ ว่าอยู่เบื้องหลัง การคัดค้าน ร่างรัฐธรรมนูญโจร ของ ทรราช คสช.

งานเข้ามึงแล้ว ไอ้ตูบ .... เที่ยวกล่าวหา ทักษิญ ว่าอยู่เบื้องหลัง การคัดค้าน ร่างรัฐธรรมนูญโจร ของ ทรราช คสช. แตนี้... ข้าหลวงใหญ่ สิทธิมนุษยชนฯ ก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจแบบเผด็จการของ ไอ้ตูบ ประยุทธ์ เช่นกัน

--------------------------------------------------------------------------------

ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนฯ กังวลบทบาททหารไทยในกิจการพลเรือนและการปราบปรามคนค้านร่างรัฐธรรมนูญ

-
22 เมษายน 2559 ซีด ราอัด อัล ฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ แสดงความกังวลต่อสถานการณ์ในประเทศไทยที่มีการจับกุม ควบคุมตัวและคุกคามผู้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ โดยล่าสุดเป็นกรณีของวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีที่เพิ่งถูกปล่อยจากการควบคุมตัวจากเหตุแสดงความเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญในสื่อสังคมออนไลน์ และกรณีนักกิจกรรมห้ารายที่ถูกนำตัวไปค่ายทหารจากการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

-
ข้าหลวงใหญ่ฯ เห็นว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติรัฐธรรมนูญที่จำกัดไม่ให้มีการรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ อาจถูกตีความอย่างไม่ชอบด้วยกฎหมายและเลือกใช้เฉพาะกับคนที่ออกมาต่อต้านเท่านั้น ขณะที่การถกเถียงและอภิปรายอย่างเปิดเผยและมีชีวิตชีวาจะส่งเสริมความสามัคคีในชาติ สร้างความชอบธรรม การยอมรับ และความรู้สึกว่าเป็นเจ้าของร่วมกันในรัฐธรรมนูญ ข้าหลวงใหญ่เรียกร้องให้ รัฐบาลส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในร่างรัฐธรรมนูญแทนการจำกัดป้องปราม

-
สำนักงานข้าหลวงใหญ่ฯ ยังระบุอีกว่า ตั้งแต่รัฐประหารในปี 2557 รัฐบาลทหารได้ออกคำสั่งหลายฉบับซึ่งเพิ่มบทบาทของกองทัพในการออกนโยบายและบังคับใช้กฎหมาย นับแต่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 13/2559 ซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ทหารอย่างกว้างขวางในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายรวมกว่า 27 ฉบับ ซึ่งอาจไม่ได้นำไปใช้เฉพาะอาชญากรแต่ใช้กับคนเห็นต่าง เช่นเดียวกับคำสั่งอีกฉบับที่ออกมาเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2559 ที่ให้อำนาจกองทัพมากขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

-
การเพิ่มบทบาทของกองทัพยังปรากฏอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งรับรองให้การออกคำสั่งของหัวหน้า คสช. ตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ ฉบับชั่วคราว ยังมีอยู่และดำเนินต่อไปในอนาคตซึ่งหนึ่งปีที่ผ่านมามีคำสั่งตามอำนาจข้อนี้แล้วกว่า 61 ฉบับ

-
ซีดกล่าวว่า"ด้วยเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญเหนือสิ่งอื่น ข้าพเจ้าขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยระงับการใช้กฎหมายและคำสั่งเหล่านั้น ซึ่งให้อำนาจแก่กองทัพอย่างกว้างขวางและเป็นอันตราย" และเรียกร้องให้ยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารและให้พิจารณาตามกระบวนการปกติภายใต้ศาลพลเรือนแทน โดยย้ำให้ไทยปฏิบัติตามอนุสัญญาสิทธิมนุษยชนที่ไทยได้ให้สัตยาบันไว้ด้วย

-
Cr. iLaw