คิดวิเคราหะ์เล่นๆแบบ Qualitative (เชิงคุณภาพ) ไม่ใช่เชิง Quantitative (เชิงปริมาณ)
เศรษฐกิจประเทศไทย มีปัญหาแน่ๆ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องความสามารถในการแข่งขัน เศรษฐกิจโลก หรืออะไรมากมาย
แค่มาดูอะไรบางอย่างภายในประเทศกันไม่กี่ข้อ
- เงินในระบบของแรงงานรากหญ้าในไทย ที่นายจ้าง ผู้ประกอบการจ่ายออกไป กลับมาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศไทยน้อยมาก
แต่ไหลออกไปให้ประเทศเพื่อนบ้านเกือบทั้งหมด คนงาน เขมร พม่า ลาว อยู่ในไทยมหาศาล
พวกนี้แค่กินพออยู่ เงินที่เหลือ ส่งกลับประเทศหมด
ปัจจุบันแรงงานไทยเลือกงานมากๆ ทำให้ขาดความมั่นคงทางด้านแรงงาน
หากประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้พัฒนาขึ้น แรงงานก็จะไหลกลับหมด
ส่วนที่เป็นชายไทยในเมืองก็เลือกแต่จะทำงานสบาย นั่งๆ นอนๆ ทำมอไซค์รับจ้าง ขับแท๊กซี่ เพราะสบายกว่า (แต่ไม่มีโอกาสเดินต่อ)
- ต้นทุนทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการ SME ซึ่งเป็นฐานของเศรษฐกิจไทย ค่อนข้างสูง ธุรกิจที่ไม่ได้เข้าตลาดอยู่ยาก
ธนาคารไทยยังยึดการกินส่วนต่างดอกเบี้ยเงินกู้เงินฝาก สูงถึง 9-10%
คนรวยที่มีฐานะดีมีเงินลงทุน ก็ไม่อยากทำธุรกิจ ซื้อที่เก็บไว้เก็งกำไรดีกว่า เพราะทำอะไรก็ไม่ค่อยคุ้มเท่า
- เด็กจบใหม่ ผู้ชายก็อยากเปิดร้านกาแฟ slow life ผู้หญิงก็ร้านกาแฟขายขนมเค็ก ไม่ก็ขายของที่เกี่ยวกับความสวยๆ งามๆ ออนไลน์ ไม่ค่อยมีใครอยากสานต่อธุรกิจพวกโรงงานอุตสาหกรรมเล็กๆหรือร้านค้าของพ่อแม่ ที่เหลือก็เข้าสู่การเป็น corporate people ช่องว่างทางสังคมก็ยิ่งสูงมากขึ้น
- ไม่มีการออมจากคนรุ่นใหม่ เพราะวัฒนธรรมการเดินทางท่องเที่ยวกินหรูใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ไม่เผื่ออนาคต ไม่เผื่อการลงทุน ไม่เผื่อยามเจ็บป่วยและพิการ ฯลฯ
ซึ่งการใช้จ่ายแบบไม่ต้องเผื่ออนาคตนี้ อาจจะยังช่วยผลักดันเศรษฐกิจในระบบช่วงสั้นๆแต่พลเมืองเหล่านี้จะเริ่มเป็นภาระต่อรัฐบาลเมื่อแก่ตัวลง ตกงาน เป็นภาระต่อระบบประกันสังคม และงบประมาณทางสาธารณสุข ฯลฯมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต