Friday, May 20, 2016

สิ่งที่สังคมพึงปรารถนา คือ "ความเงียบสงบ" มิใช่ "ความเงียบสงัด"

ถึง ผู้อ่านทุกท่าน

หวังว่าเราจะคิดตรงกันว่า 'ความเงียบ' ที่สังคมพึงปรารถนา คือ "ความเงียบสงบ" มิใช่ "ความเงียบสงัด"

ครบรอบ 24 เดือนหลังการรัฐประหาร จึงเป็นอีกวาระหนึ่งที่จะทบทวนบทเรียนจากการบริหารความเงียบและความดังในสังคมนี้ว่า คสช. มีวิธีการรับมือกับประชาชน ที่กำลังรอการคืนความสุขอย่างไร

ที่ผ่านมา แม้จะยกเลิกกฎอัยการศึกมาได้หนึ่งปีเศษ แต่การเปลี่ยนมาใช้อำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ที่ออกโดย "มาตรา 44" ไม่ได้เปลี่ยนแปลงหรือบรรเทา การใช้อำนาจเพื่อปราบปรามประชาชนที่ใช้เสรีภาพในการแสดงออก อย่าง การชุมนุม การจัดงานเสวนา หรือแม้แต่การโพสต์สเตตัสเฟซบุ๊ก แต่อย่างใด

ซ้ำร้ายรูปแบบและวิธีการกลับพัฒนาตัวจนเข้มแข็งและเข้มข้นมากขึ้น นับจนถึงวาระ 24 เดือน ทหารวางระบบให้สถาบันของทหารเองมีอำนาจอย่างสมบูรณ์ครบทั้งวงจรของกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่การจับกุม ควบคุมตัว สอบสวน ฟ้องคดี ตัดสินคดี และดูแลเรือนจำ

รายงานฉบับนี้มีความมุ่งหวังว่า สังคมจะได้รู้ ได้เห็น ถึงกลไกที่รัฐใช้เพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเมื่อรัฐอ้างว่ามันเป็นไปตาม "กระบวนการยุติธรรมปกติ" ส่วนเมื่ออ่านแล้วผู้อ่านแต่ละคนจะเข้าใจและมีความเชื่ออย่างไรก็สุดแล้วแต่จะคิดเห็นไปตามประสบการณ์ของแต่ละคน

ท่านสามารถอ่านบทสรุปรายงาน 24 เดือนคสช.: เมื่ออำนาจทหารอยู่เหนือระบบยุติธรรม ได้ที่ http://goo.gl/JehwFl

หรือ อ่านรายงานแต่ละส่วนได้ที่

http://goo.gl/NLoFsj >> เมื่อทหารทำตัวเป็นตำรวจ

http://goo.gl/30Wn1e >> เมื่อทหารทำตัวเป็นศาลและอัยการ

http://goo.gl/pkA73C >> เมื่อทหารทำตัวเป็นผู้คุม

http://goo.gl/L7Uz4m >> เมื่อทหารทำตัวเป็น "กองเซ็นเซอร์"
และ

http://goo.gl/mHUOZ3 >> เมื่อทหารไม่ได้คืนแต่ "ความสุข"
-

Cr. iLaw