องค์กรสิทธิฯ กล่าวหารัฐบาลไทยหลอกลวงนานาชาติ เสนอข้อมูลเท็จในรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
-
องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ FIDH ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีสของฝรั่งเศส ออกแถลงการณ์ในวันนี้ (18 พ.ค.) กล่าวหาว่ารัฐบาลไทยหลอกลวงนานาชาติเรื่องสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ ระหว่างการรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา
-
องค์กร FIDH โต้แย้งข้อมูลของตัวแทนรัฐบาลไทยที่เสนอต่อที่ประชุม UNHRC ซึ่งระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวอย่างจำกัด ทั้งที่ข้อเท็จจริงนั้น พล.อ.ประยุทธ์ บังคับใช้อำนาจตามมาตรา 44 ถึง 70 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค.2557-4 พ.ค.2559
-
นอกจากนี้ แถลงการณ์ของ FIDH ยังระบุว่า แม้ตัวแทนรัฐบาลไทยประกาศจะดำเนินการตามข้อเสนอแนะระหว่างการประชุมดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีการลิดรอนสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นจำนวนมากนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารปี 2557 เป็นต้นมา เห็นได้จากการควบคุมความเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยรัฐบาลไทยอ้างว่าจำเป็นต้องป้องกันความแตกแยกในสังคม แต่กลับส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการแสดงออกตามความเชื่อทางการเมืองของบุคคล ที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและได้รับการคุ้มครองตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
-
นายคาริม ฮาลิดจี ประธานองค์กร FIDH กล่าวว่าความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะกวาดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนไปซุกไว้ใต้พรม ได้ถูกตีแผ่ต่อที่ประชุมในนครเจนีวา และสมาชิกสหประชาชาติจำนวนมากต่างกังวลต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่กำลังเป็นปัญหาในประเทศไทย
ทั้งนี้ ในการประชุมที่นครเจนีวาดังกล่าว ตัวแทนจาก 97 ประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั่วโลก ได้ยื่นข้อเสนอแนะ 249 ข้อต่อรัฐบาลไทย ขณะที่ตัวแทนรัฐบาลไทยยอมรับว่าจะพิจารณาข้อเสนอแนะ 181 ข้อ และจะให้คำตอบเรื่องข้อเสนอแนะอีก 68 ข้อที่เหลือในการประชุม UNHRC ครั้งที่ 33 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นอีกครั้งในเดือน ก.ย.2559
Cr. บีบีซีไทย - BBC Thai
-
องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ FIDH ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีสของฝรั่งเศส ออกแถลงการณ์ในวันนี้ (18 พ.ค.) กล่าวหาว่ารัฐบาลไทยหลอกลวงนานาชาติเรื่องสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศ ระหว่างการรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของประเทศไทยต่อที่ประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UNHRC) ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 11 พ.ค.ที่ผ่านมา
-
องค์กร FIDH โต้แย้งข้อมูลของตัวแทนรัฐบาลไทยที่เสนอต่อที่ประชุม UNHRC ซึ่งระบุว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวอย่างจำกัด ทั้งที่ข้อเท็จจริงนั้น พล.อ.ประยุทธ์ บังคับใช้อำนาจตามมาตรา 44 ถึง 70 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 25 ธ.ค.2557-4 พ.ค.2559
-
นอกจากนี้ แถลงการณ์ของ FIDH ยังระบุว่า แม้ตัวแทนรัฐบาลไทยประกาศจะดำเนินการตามข้อเสนอแนะระหว่างการประชุมดังกล่าว แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีการลิดรอนสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นจำนวนมากนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารปี 2557 เป็นต้นมา เห็นได้จากการควบคุมความเคลื่อนไหวทางการเมือง โดยรัฐบาลไทยอ้างว่าจำเป็นต้องป้องกันความแตกแยกในสังคม แต่กลับส่งผลกระทบต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการแสดงออกตามความเชื่อทางการเมืองของบุคคล ที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานและได้รับการคุ้มครองตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
-
นายคาริม ฮาลิดจี ประธานองค์กร FIDH กล่าวว่าความพยายามของรัฐบาลไทยที่จะกวาดปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนไปซุกไว้ใต้พรม ได้ถูกตีแผ่ต่อที่ประชุมในนครเจนีวา และสมาชิกสหประชาชาติจำนวนมากต่างกังวลต่อสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนที่กำลังเป็นปัญหาในประเทศไทย
ทั้งนี้ ในการประชุมที่นครเจนีวาดังกล่าว ตัวแทนจาก 97 ประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั่วโลก ได้ยื่นข้อเสนอแนะ 249 ข้อต่อรัฐบาลไทย ขณะที่ตัวแทนรัฐบาลไทยยอมรับว่าจะพิจารณาข้อเสนอแนะ 181 ข้อ และจะให้คำตอบเรื่องข้อเสนอแนะอีก 68 ข้อที่เหลือในการประชุม UNHRC ครั้งที่ 33 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นอีกครั้งในเดือน ก.ย.2559
Cr. บีบีซีไทย - BBC Thai